วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

สวัสดีค่ะ ดิฉัน ปรียาภรณ์ หอมนาน จะมานำเสนอบทความเรื่อง เขตการค้าเสรี ไทย - อินเดีย ซึ่งจะนำเสนอโดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ นะค่ะ




















สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวสุวิมล  ปาหนองแปน จะมานำเสนอเรื่อง  NAFTA ซึ่งจะมีเนื้อหา ดังต่อไปนี้ ค่ะ




วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวฐานะมาศ คำมั่น จะมานำเสนอบทความเรื่อง SAFTA โดยมีเนื้อหาและรายละเอียดดังต่อไปนี้ นะค่ะ



เพื่อนๆหลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อองค์กรนี้เลยก็ได้ องค์กรนี้นะค่ะก่อตั้งมาเป็นระยะเวลานานแล้วค่ะ แต่มีประเทศสมาชิคน้อยราย เลยทำให้ไม่ได้เป็นที่สนใจจากภายนอก



SAFTA เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่รัฐบาลเอเชียใต้ 7 ประเทศ ซึ่งได้แก่ เนปาล บังคลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา ภูฏาน หมู่เกาะมัลดีฟส์ และอินเดีย



SOUTH ASIA ECONOMICS UNION หรืออีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า SAFTA เป็นนโยบายการสร้างเขตการค้าเสรี และเป็นก้าวแรกสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ในภูมิภาคเอเชียใต้






SAARC เป็นองค์กรที่มีการพัฒนาอย่างเชื่องช้ามากและไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และถือได้ว่าเป็นองค์กรที่อ่อนแอที่สุดในโลก เพราะประเทศสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ยากจน จึงยากในการพัฒนา และเป็นองค์กรที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมมาก ความแตกต่างนี้ทำให้เกิดปัญหาในการตกลงทำการค้าต่างๆ










ขอจบการนำเสนอไว้เพียงนี้ ขอบคุณค่ะ 

Inter Trade Economics ((MERCOSUR))

 สวัสดีค่ะ ดิฉัน ปณัญญา ทิพย์อำพร จะมานำเสนอบทความเรื่อง MERCOSUR โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ นะค่ะ


     เริ่มแรกเลยนะค่ะ ดิฉันอยากให้เพื่อนๆได้ทราบถึงภูมิหลังของ MERCOSUR ว่ามีการก่อตั้งกันได้ยังไง และ เพื่อให้เพื่อนๆได้ทราบกัน เพื่อนๆสามารถดูได้จากภาพที่ดิฉันลงไว้นะค่ะ เราไปดูกันเลยดีกว่า


ต่อมานะค่ะ เราจะมาทราบถึงประเทศสมาชิกของ MERCOSUR กันนะค่ะ โดยมี
Uruguay
-  Argentina
-  Brazil
-  Paraguay



 ต่อมาเพื่อนๆควรจะทราบว่าMERCOSUR คืออะไร



 วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง MERCOSUR  คืะอะไร
1. เปิดเสรีทางการค้าภายในภูมิภาค (Trade Liberalization Program)

2. กำหนดนโยบายการค้าและอัตราภาษีศุลกากรต่อประเทศนอกกลุ่มในลักษณะเดียวกัน (Common External Tariff)
3. ประสานและสร้างความกลมกลืนด้านนโยบายเศรษฐกิจของชาติในระดับ มหภาค(Gradual Coordination of Macroeconomic Policies)
4. การออกกฎระเบียบเพื่อนำปัจจัยและทรัพยากรการผลิตมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Adoption of Sectorial Agreements)










สิ่งต่อมาที่ควรทราบคือนโยบายการค้า ว่าเป็นอย่างไร



 สิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลย คือ อุปสรรคและปัญหา ที่เพื่อนๆควรจะทราบกันนะค่ะ




สวัสดีครับ ผม นายจตุพร  วันนี้ได้นำงาน ที่ได้รับมอบหมายจาก อ. เกี่ยวกับ วิชา Inter Trade theory มาอัพให้เพื่อนๆดูกัน โดยหัวข้องานในครั้งนี้เกี่ยวกับ AEC



                                                อาเซียนและประชาชมเศรษฐกิจอาเซียน   
                                           AEC:  ASWAN Economic Community






                        AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน



                                                                       โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้
พม่า :
สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง
ASEAN)






            2.1.1 การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว จะนำไปสู่การใช้กฎระเบียบ 
การค้าในประเทศสมาชิกทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน (Harmonization of Rules 
and Regulations) ทั้งในด้านมาตรฐาน คุณภาพ ราคา อัตราภาษี รวมถึงกฎ
ระเบียบในการซื้อขาย การขจัดมาตรการและข้อกีดกันต่างๆ รวมถึงการมีมาตรการ
อำนวยความสะดวกทางการค้า เงื่อนไขการเคลื่อนย้ายบุคคลสัญชาติอาเซียน 
ประเภทบริการและการลงทุนที่เสรี 
          2.1.2 การสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการ
แข่งขันสูง(Highly Competitive Economic Region) ในเวทีการค้าโลก 
ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม การเงินการธนาคาร 
การจัดระบบการค้าให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และการคุ้มครองทรัพย์สิน
ทางปัญญา เป็นต้น
         2.1.3 การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิก
อาเซียน โดยพัฒนา SMEs และเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการ
ความร่วมมือต่างๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative
for ASEAN Integration: IAI) ในการลดช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจของ
แต่ละประเทศสมาชิก
        2.1.4 การเชื่อมโยงของอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก ด้วยการเน้น
และปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค ให้มี
ท่าทีร่วมกัน โดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ 
เพื่อให้เครือข่ายการผลิต/จำหน่ายภายในอาเซียนเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ





                 เนื่องจากการเปิด AEC ทำให้มีประชากรรวมกันถึง 560 ล้านคน  จึงทำให้ประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน  AEC สนใจที่จะเข้ามาลงทุน


               การที่แต่ละประเทศมารวมกลุ่มทำให้มีทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้วัตถุดิบที่ถูกและมีคุณภาพ อีกทั้งยังสามารถเลือกสถานประกอบการที่ได้เปรียบที่สุด



                       การรวมกลุ่ม AEC ยังสามารถเพิ่มกำลังการต่อรอง คือ เมื่อมีการร่วมกลุ่มกันถึง 10  ประเทศทำให้สามารถเจรจาการต่อรองในเวทีการค้าโลก WTO  เพราะเมื่อก่อนที่ยังไม่ได้รวมกลุ่มทำให้แต่ละประเทศไม่มีอำนาจในการต่อลองเวทีการค้าโลกได้


                    ผลกระทบเชิงบวก
1.             การลดและยกเลิกมาตรการทางภาษีในปี 2553 เป็นร้อยละ 0 ทั้งหมดยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหว
และอ่อนไหวมาก (Sensitive and Highly Sensitive) ของกลุ่มอาเซียน 6 รวมทั้งประเทศไทย และ 2558 สำหรับกลุ่ม CLMV เป็นการอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ เป็นการเพิ่มโอกาส
ร้อยละ 22.7 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย (เพิ่มจากร้อยละ 20 ในปี 2552)
                2.  ต้นทุนในการผลิตของไทยต่ำลง สามารถนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิต
ได้ในราคาที่ถูกลง
                3.  เป็นการสร้างเสริมโอกาสการลงทุนเมื่อประเทศอาเซียนมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรีมากขึ้น
                4.  เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่นๆ
                5.  เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก


                      ผลกระทบเชิงลบ
1. สินค้าของประเทศอาเซียนอื่นเข้าสู่ตลาดไทยได้โดยไม่มีภาระภาษี ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแข่งขันมากขึ้น แต่ที่ผ่านมาไทยกลับมีมูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนสูงกว่าการนำเข้าจากอาเซียน
2. ในด้านการลงทุน หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure) ประสิทธิภาพ
การผลิตของแรงงาน (Labor productivity) และไม่มีการปรับปรุงกฎระเบียบกฎหมายให้มีความทันสมัยไม่เป็น

อุปสรรคต่อนักการลงทุน อาจทำให้มีการโยกย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆใน
ASEAN ที่เหมาะสมกว่า
                3. การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทน สูงกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบูรไน และต้องจ้างแรงงานต่างด้าวจากประเทศแรงงานถูกกว่าเข้ามา อาจก่อปัญหาด้านสังคม และเนื่องจากทิศทางนโยบายของไทยคือ การเป็น “รัฐสวัสดิการ” ทำให้งบประมาณของรัฐส่วนหนึ่งจะไปเป็นสวัสดิการของแรงงานต่างด้าว
                4. ตลาดสินค้าในประเทศ (Domestic Market) หากตลาดภายในของไทยยังไม่มีกลไกในการป้องกันไม่ให้สินค้าคุณภาพต่ำกว่าที่ผลิตได้ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้ามาขายในประเทศมากขึ้น ก็จะทำให้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้นอาจเกิดปัญหาอุปสรรคได้ เนื่องจากไม่มีตลาดภายในประเทศรองรับ รวมทั้งอาจส่งผลทางจิตวิทยาแก่ผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตได้



                 ขอบคุณ ทุกคนที่สนใจ  หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นะครับ


วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

SACU



สหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้
                สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวปิยะนันท์  ปิงวงค์  วันนี้จะมาอธิบายเรื่อง สหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ ให้ทุกคนได้รู้จักนะคะ มาดูกันเลยค่ะ 



              สหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้  หรือชื่อย่อคือ SACU  แนวคิดในการจัดตั้งกลุ่ม SACU เริ่มขึ้นเนื่องจากประเทศบอตสวานา เลโซโท และสวาซิแลนด์  ไม่มีทางออกสู่ทะเล จึงจำเป็นต้องอาศัยท่าเรือของประเทศแอฟริกาใต้เป็นทางผ่านในการทำการค้ากับประเทศอื่น ๆ  วัตถุประสงค์เริ่มแรก  เพื่อร่วมกันบริหารการจัดเก็บภาษีศุลกากรของสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าที่ผ่านท่าเรือของประเทศแอฟริกาใต้ และนำรายได้จากการเก็บภาษีดังกล่าวมาจัดสรรกันในกลุ่มประเทศสมาชิกอย่างเสมอภาคและยุติธรรม   ความคืบหน้า ปัจจุบันประเทศสมาชิกกลุ่ม SACU อนุญาตให้มีการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการระหว่างกันได้อย่างเสรี


วัตถุประสงค์ของ SACU ที่มีอยู่ใน ข้อตกลง SACU  ปี 2002  คือ
1.             เพื่ออำนวยความสะดวกการค้าข้ามพรมแดนของสินค้าระหว่างอาณาเขตของประเทศสมาชิก
2.             เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความโปร่งใส่  เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการค้าอย่างเป็นธรรมจากประเทศสมาชิก
3.              เพื่อส่งเสริมเงื่อนไขของการแข่งขันที่เป็นธรรมในเขตศุลกากร
4.             เพื่อเพิ่มการพัฒนาเศรษฐกิจที่หลากหลายด้านอุตสาหกรรมและการแข่งขันของประเทศสมาชิก
5.             เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกเข้าสู่เศรษฐกิจโลกผ่านการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
6.             เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของนโยบายและกลยุทธ์



ปัจจุบันประเทศสมาชิกมีด้วยกัน  5 ประเทศ คือ บอตสวานา เลโซโธ นามิเบีย สวาซิแลนด์ และแอฟริกาใต้

           นี่คือประโยชน์ร่วมกัน  ของการจัดตั้งสหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ โดยจัดทําการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก ภายใต้ SACU ไม่มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิก และจะเรียกเก็บภาษีศุลกากรนําเข้าในอัตราเดียวกันจากประเทศนอกกลุ่ม



การค้าระหว่าง SACU กับประเทศไทย
         1. บอตสวานา   การค้าระหว่างไทยและบอตสวานา ในปี 2554 มีมูลค่า 76.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 3.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 72.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า 68.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับบอตสวานามาหลายปีติดต่อกัน)
         2. เลโซโท   การค้าระหว่างไทยและเลโซโทยังมีปริมาณค่อนข้างน้อย โดยในปี 2554 (ค.ศ. 2011) มีมูลค่าการค้ารวม 0.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 0.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากเลโซโท 0.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 0.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  อุปสรรคของความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยและเลโซโทที่สำคัญคือ การขาดข้อมูลด้านการค้า-การลงทุน และกฎระเบียบ ประกอบกับความไม่คุ้นเคยระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่มั่นใจที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินธุรกิจหรือลงทุนร่วมกัน
          3. นามิเบีย   ไทยและนามิเบียมีมูลค่าการค้ารวม 11.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 7.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 3.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า 4.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มูลค่าการค้ารวม ไทย-นามิเบีย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปริมาณไม่มากนัก
         4. แอฟริกาใต้   เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในทวีปแอฟริกาและเป็นตลาดส่งออกข้าว ที่ใหญ่ที่สุดในอนุภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ และไทยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของแอฟริกาใต้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ในปี 2554 การค้าระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้มีมูลค่ารวม 3,575 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 2,202.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1,373 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 828.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ทั้งสองฝ่ายประสงค์ที่จะเพิ่มพูนปริมาณการค้าระหว่างกัน แม้ว่าแอฟริกาใต้จะมีความกังวลในเรื่องความไม่สมดุลย์ทางการค้า เนื่องจากแอฟริกาใต้ขาดดุลการค้ากับไทยเป็นจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่อง
5. สวาซิแลนด์  มูลค่าการค้าระหว่างไทย-สวาซิแลนด์ยังมีไม่มาก แต่อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด สำหรับปี 2554 (ค.ศ. 2011) ระหว่างกันมีมูลค่า 35.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกมูลค่า 21.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยนำเข้ามูลค่า 14.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยได้ดุลการค้ามูลค่า 8.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


อ้างอิง
http://www.sacu.int/