วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

AFTA


สวัสดีคะ ดิฉัน น.ส.ธัญญา บุญเพ็ง วันนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม AFTA ว่าการรวมกลุ่มAFTAคืออะไร เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครรู้จักกัน.....




เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) หรือ อาฟต้า (AFTA) เป็นข้อตกลงทางการค้า สำหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด

ความเป็นมา                                                       
1. ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) หรืออาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ประกาศจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า ในเดือนมกราคม 1992  ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม (1995) ลาว และพม่า (1997) และกัมพูชา (1999) รวมประชากรอาเซียนทั้งสิ้น 500 ล้านคน





โดยผู้ที่ริเริ่มการก่อตั้งครั้งนี้ คือ อดีตนายกรัฐมนตรี อนันท์ ปันยารชุน 
ความเป็นมา                                                        

1. ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) หรืออาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ประกาศจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า ในเดือนมกราคม 1992  ต่อมามีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม (1995) ลาว และพม่า (1997) และกัมพูชา (1999) รวมประชากรอาเซียนทั้งสิ้น 500 ล้านคน



วัตถุประสงค์


1) ส่งเสริมให้การค้าในอาเซียนขยายตัวมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาประเทศต่างๆที่ใกล้ชิดกัน 

มักจะมีการค้าระหว่างกันน้อยมาก ส่วนใหญ่จะไปค้าขายกับประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐฯ 

ญี่ปุ่น ยุโรปตะวันตก เป็นต้น จึงคิดกันว่าควรขยายการค้าภายในให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

2) ถ้ารวมกันเป็นเขตการค้าเสรี การที่ภาษีลดต่ำลงจะเอื้ออำนวยให้การลงทุนจากประเทศ

ที่สามเข้ามาในอาเซียนมากขึ้น เพราะถ้ามาลงทุนในประเทศหนึ่งก็สามารถผลิตสินค้าไป

ขายในประเทศอาเซียนอื่นได้ โดยไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีต่ำมาก

3) ขณะนั้น การแข่งขันทางการค้าในโลกเริ่มเข้มข้นมากขึ้น และมีการเจรจารอบอุรุกวัย 

ภายใต้ WTO ซึ่งอาเซียนคิดว่าถ้าได้ซ้อมเปิดเสรีกันในกลุ่มเล็กนี้ก่อน ก็จะช่วยให้สามารถ

แข่งขันได้มากขึ้น


เป้าหมายของAFTA

  • ประเทศสมาชิกจะลดภาษีสินค้าทุกรายการให้เหลือ 0-5% ภายในเวลา 10 ปี จากที่เริ่มต้นลดภาษีแล้ว

  • ลดให้เหลือ 0% ภายในปี 2553-2558 ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสมาชิกเดิมหรือสมาชิกใหม่ รวมทั้งจะต้องค่อย ๆ ทยอยลด/เลิกเครื่องกีดขวางทางการค้าทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาษีต่าง ๆ ให้หมดไปด้วย เช่น การจำกัดโควตานำเข้าระหว่างกันและกัน   จะยกเลิกทันทีที่ภาษีของประเทศนั้น ๆ ลดเหลือ 20% หรือการกำหนดมาตรฐานสินค้า หรือการออกใบอนุญาตนำเข้า ก็จะทยอยลดลงไปเช่นกัน



ขอบเขตสินค้า
ครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศิลธรรม ชีวิต และศิลปะ และอนุโลมให้มีรายการสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่ยังไม่พร้อมที่จะนำมาลดภาษีตามกำหนดระยะเวลาได้
การดำเนินการให้สิทธิ (CEPT) แบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่ม
สินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) ลดภาษีลงให้เหลือร้อยล่ะ 0-5  ภายใน 7 ปี มี 15 สาขาสินค้า ได้แก่ ซีเมนท์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์หนัง เยื้อกระดาษ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย นำมันพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เซรามิก และผลิตภัณฑ์แก้ว เภสัชภัณฑ์  และแคโทดที่ทำจากทองแดง
สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) ลดภาษีลงให้เหลื่อร้อยล่ะ 0-5 ภายใน 10 ปี สินค้ายกเว้นชั่วคราว (Temporary Exclusion List) ได้แก่สินค้าที่แต่ละประเทศสงวนลิขสิทธิ์ไม่ลดภาษีชั่วคราว แต่จะทยอยนำมาลดภาษีภายใน 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป


สินค้านำเข้าและส่งออกของแต่ละประเทศ














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น