วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

BRICS จ้า อยากรู้ว่ามันคือไรมาอ่านกันนะ ^^


สวัสดีค่ะ ดิฉัน รัตติยา บุบผัน วันนี้มีสาระดีๆมาฝากเพื่อนๆกัน โดยวันนี้มีเรื่องเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ มาให้อ่านกันนะ  ^^ ในหัวข้อ BRICS  ถ้าอยากทราบกันแล้วว่ามันคืออะไร ดูกันได้เลยจ้า


BRICs เป็นการรวมกลุ่มของประเทศยักษ์ใหญ่ที่กำลังพัฒนาทีมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Emerging Market)และประเทศเหล่านี้ได้ถูกกล่าวว่ามีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยผูที่บัญญัติคำแเรียกเก๋ๆนี้ นั่นคือ นาย Jim O' Neil ครั้งแรกมีสมาชิกเพียงสี่ประเทศและกลายเป็นห้าประเทศในปัจจุบัน จึงใช้สัญญลักษณ์ จาก BRIC เป็น BRICS


 

แม้ว่า กลุ่ม BRICS ไม่ได้มีแนวทางที่ชัดเจนที่จะรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจหรือสมาคมการ ค้าอย่างเป็นทางการเหมือนสหภาพยุโรป (EU) แต่มีข้อบ่งชี้บางอย่างว่ากลุ่ม BRIC พยายามที่จะสร้างสมาคมหรือพันธมิตรทาง การเมืองรวมถึงเปลี่ยนอํานาจทางเศรษฐกิจที่กําลังเติบโตให้เป็นอํานาจการ เมืองระดับภูมิภาค โดยในปัจจุบันกลุ่มดังกล่าวนี้มีความสำคัญในเวทีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างมาก และถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง

นอกจาก ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ กลุ่ม BRICS ยังมีแผนจะพัฒนาไปสู่การเป็นกลุ่มความร่วมมือทางการเมืองให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงความร่วมมือในสาขาอื่น ๆ อีก ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน เนื่องจากสมาชิก BRICS เป็นประเทศที่ผลิตและใช้พลังงานมากที่สุด และเป็นประเทศผู้ผลิตผลผลิตทางการเกษตรรายใหญ่ที่สุดและเป็นผู้บริโภคผลผลิต ทางการเกษตรมากที่สุด การพัฒนาการใช้พลังงานสะอาด การเพิ่มผลผลิตการเกษตร เป็นต้น และยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือเพิ่มขึ้นอีก อาทิ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การค้าการลงทุน ยา และการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 



นี่คือรายละเอียดและสมาชิกของกลุ่ม  BRICS
ประเทศทั้งข้างต้นมีพื้นที่รวมกันมากกว่าหนึ่งในสี่ของโลกและมี จํานวนประชากรรวมกันมากกว่าร้อยละ 43 ของประชากรโลก มีสัดส่วนใน GDP โลกประมาณ หนึ่งในสี่ของทั้งหมด หรือคิดเป็นประมาณ 13.7 แสนล้าน ดอลล่าห์สหรัฐ และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศรวมกันถึง 4.4 แสนล้านดอลล่าห์สหรัฐ และในปี 2555 กลุ่มประเทศ BRICS มีสัดส่วนในการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (FDI) คิดร้อยละ 11 ของโลก และมีสัดส่วนในการค้าโลกถึงร้อยละ 17



"BRICS" ซึ่งประกอบด้วยประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและแอฟริกาใต้  ทั้ง 5 ประเทศในกลุ่ม BRICS มีฐานความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน การเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และความโดดเด่นที่ยังไม่มีประเทศใดเทียบได้ จึงทำให้การเข้าไปลงทุนในธุรกิจชั้นนำของทั้ง 5 ประเทศ
 
จะ​เห็น​ได้ว่า​แต่ละประ​เทศจะมีคุณลักษณะพิ​เศษ จุด​เด่นที่​แตกต่างกัน ​ซึ่งช่วย​เอื้อต่อ​การขยายตัวทาง​เศรษฐกิจ​ในลักษณะที่ส่ง​เสริมกัน​และกัน ​เป็น อย่างมาก ​เนื่องจากมี​แรงผลักดัน​ทั้งด้านอุปสงค์​และอุปทาน ​จึง​เป็นพลังขับ​เคลื่อนที่จะก่อ​เกิด​การขยายตัวอย่างมากต่อระบบ​เศรษฐกิจโลก


เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่เกิดจากประเทศกำลังพัฒนาทำให้คนในประเทศเหล่านี้คือชนชั้นกลางที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ



การประชุมของกลุ่มซึ่งโครง สร้างความร่วมมือของ BRICS นั้นก็คือในทุกๆปีจะมีการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศ BRICS โดยจะจัดขึ้นในประเทศสมาชิก และเวียนไปเรื่อยๆจนครบรอบแล้วเริ่มใหม่ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดประชุมไปแล้ว 4 ครั้ง
 BRICS ขั้วอำนาจใหม่ของเศรษฐกิจโลก (A New Polar of World Economy)
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลุ่ม BRICS มีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ ส่งผลให้กลุ่ม BRICS สามารถที่จะกลายเป็นขั้วอำนาจใหม่ ของเศรษฐกิจโลก (A New Polar of World Economy) ขึ้นมาท้าทายและถ่วงดุลอำนาจของสหรัฐฯ และ EU ซึ่งการประชุมที่ผ่าน ๆ มา กลุ่ม BRICS ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการปฏิรูป IMF การเปลี่ยนสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศสกุลใหม่แทนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ฯ เพื่อลดบทบาทของสหรัฐฯ และ EU เป็นต้น




ปัจจุบัน ประเทศไทยมีความร่วมมือในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีรวมถึงมีความสัมพันธ์ด้าน เศรษฐกิจการค้าและการลงทุนกับประเทศต่างๆในกลุ่ม BRICS ที่สําคัญ ดังนี้
1.        ไทย-จีน ได้แก่การทํา ASEAN-China FTA ในกรอบพหุภาคีความร่วมมือในกรอบทวิภาคีต่างๆ เช่น แผนพัฒนาระยะ 5 ปีระหว่างไทย-จีน (พ.ศ.2555-2559) ภายใต้ความตกลงการขยายความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจและการค้าในเชิงกว้าง และเชิงลึกระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและ ราชอาณาจักรไทย, แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย จีนฉบับที่ 2 (2555 – 2559) ไปจนถึงกลไกในรูปแบบของคณะทํางานระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลท้องถิ่นต่างๆของ จีนในระดับมณฑลเป็นต้น
2.       ไทย-อินเดีย อยู่ระหว่างการเจรจา FTA ระหว่างกัน ซึ่งขณะนี้สินค้าจํานวน 83 รายการมีภาษีเป็นศูนย์แล้ว นอกจากนี้อินเดียยังเป็นตลาดใหม่ที่สําคัญที่สุดของไทย โดยในปี 2554 อินเดียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 16 ของไทยและเป็นอันดับที่ 1 ของไทยในเอเชียใต้โดยระหว่างปีพ.ศ. 2552-2554 มูลค่าการค้ารวมไทย-อินเดียมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3.       ไทย-รัสเซีย รัสเซียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในกลุ่ม ประเทศยุโรปตะวันออกและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States : CIS) ซึ่งมูลค่าการค้ารวมไทย-รัสเซีย ระหว่างปีพ.ศ. 2552 -2554 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4.       ไทย-บราซิล ทั้งสองประเทศได้มีการลงนามความตกลงทวิภาคีทางการ ค้าระหว่างกัน ซึ่งในปีพ.ศ. 2554 ทั้งไทยและบราซิลต่างเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของกันและกันในอาเซียน และลาตินอเมริกา (แทนที่สิงคโปร์)
5.       ไทย-แอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในทวีป แอฟริกาและเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของไทยในอนุภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ นอกจากนี้ในปี 2554 แอฟริกาใต้ยังเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในกลุ่มอาเซียนอีกด้วย

 

ภาพแสดงมูลค่าสินค้าระหว่าไทยกับกลุ่ม BRICS





จะเห็น ได้ว่ามูลค่าการค้ารวมของไทยกับประเทศต่างๆในกลุ่ม BRICS มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหาก ASEAN สามารถดําเนินความร่วมมือกับกลุ่ม BRICS ได้เป็นผลสําเร็จก็จะส่งผลดีต่อภาคเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของไทย ทําให้สามารถที่จะส่งออกสินค้าต่างๆ ที่มีศักยภาพตามตารางข้างต้น ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมไปยังประเทศต่างๆในกลุ่ม BRICS ได้มากขึ้น อย่างไรก็ดีรัฐบาลไทยควรกําหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน รวมถึงเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่ม BRICS ให้มากยิ่งขึ้น โดยอาศัยกลไกความร่วมมือภายใต้กรอบทวิภาคีและพหุภาคีที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาพรวมด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน ของประเทศรวมถึงเป็นการแสวงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพให้กับภาคธุรกิจและเอกชน ของไทยแทนกลุ่มประเทศ EU และสหรัฐฯ ที่กําลังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินอยู่ในขณะนี้

เป็นไงกันบ้างเอ่ย ขอบคุณสำหรับการเข้ามาอ่าน มาชม ^^ หวังว่าเพื่อนๆคงพอจะได้รับสาระความรู้กันไปบ้างและถ้าอยากศึกษาเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://sameaf.mfa.go.th/th/organization/detail.php?ID=4109 


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น