วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

SACU



สหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้
                สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวปิยะนันท์  ปิงวงค์  วันนี้จะมาอธิบายเรื่อง สหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ ให้ทุกคนได้รู้จักนะคะ มาดูกันเลยค่ะ 



              สหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้  หรือชื่อย่อคือ SACU  แนวคิดในการจัดตั้งกลุ่ม SACU เริ่มขึ้นเนื่องจากประเทศบอตสวานา เลโซโท และสวาซิแลนด์  ไม่มีทางออกสู่ทะเล จึงจำเป็นต้องอาศัยท่าเรือของประเทศแอฟริกาใต้เป็นทางผ่านในการทำการค้ากับประเทศอื่น ๆ  วัตถุประสงค์เริ่มแรก  เพื่อร่วมกันบริหารการจัดเก็บภาษีศุลกากรของสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าที่ผ่านท่าเรือของประเทศแอฟริกาใต้ และนำรายได้จากการเก็บภาษีดังกล่าวมาจัดสรรกันในกลุ่มประเทศสมาชิกอย่างเสมอภาคและยุติธรรม   ความคืบหน้า ปัจจุบันประเทศสมาชิกกลุ่ม SACU อนุญาตให้มีการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการระหว่างกันได้อย่างเสรี


วัตถุประสงค์ของ SACU ที่มีอยู่ใน ข้อตกลง SACU  ปี 2002  คือ
1.             เพื่ออำนวยความสะดวกการค้าข้ามพรมแดนของสินค้าระหว่างอาณาเขตของประเทศสมาชิก
2.             เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความโปร่งใส่  เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการค้าอย่างเป็นธรรมจากประเทศสมาชิก
3.              เพื่อส่งเสริมเงื่อนไขของการแข่งขันที่เป็นธรรมในเขตศุลกากร
4.             เพื่อเพิ่มการพัฒนาเศรษฐกิจที่หลากหลายด้านอุตสาหกรรมและการแข่งขันของประเทศสมาชิก
5.             เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกเข้าสู่เศรษฐกิจโลกผ่านการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น
6.             เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของนโยบายและกลยุทธ์



ปัจจุบันประเทศสมาชิกมีด้วยกัน  5 ประเทศ คือ บอตสวานา เลโซโธ นามิเบีย สวาซิแลนด์ และแอฟริกาใต้

           นี่คือประโยชน์ร่วมกัน  ของการจัดตั้งสหภาพศุลกากรแอฟริกาตอนใต้ โดยจัดทําการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก ภายใต้ SACU ไม่มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิก และจะเรียกเก็บภาษีศุลกากรนําเข้าในอัตราเดียวกันจากประเทศนอกกลุ่ม



การค้าระหว่าง SACU กับประเทศไทย
         1. บอตสวานา   การค้าระหว่างไทยและบอตสวานา ในปี 2554 มีมูลค่า 76.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 3.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 72.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า 68.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ากับบอตสวานามาหลายปีติดต่อกัน)
         2. เลโซโท   การค้าระหว่างไทยและเลโซโทยังมีปริมาณค่อนข้างน้อย โดยในปี 2554 (ค.ศ. 2011) มีมูลค่าการค้ารวม 0.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 0.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากเลโซโท 0.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 0.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  อุปสรรคของความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยและเลโซโทที่สำคัญคือ การขาดข้อมูลด้านการค้า-การลงทุน และกฎระเบียบ ประกอบกับความไม่คุ้นเคยระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่มั่นใจที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินธุรกิจหรือลงทุนร่วมกัน
          3. นามิเบีย   ไทยและนามิเบียมีมูลค่าการค้ารวม 11.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 7.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 3.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยขาดดุลการค้า 4.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มูลค่าการค้ารวม ไทย-นามิเบีย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปริมาณไม่มากนัก
         4. แอฟริกาใต้   เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในทวีปแอฟริกาและเป็นตลาดส่งออกข้าว ที่ใหญ่ที่สุดในอนุภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ และไทยเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของแอฟริกาใต้ในกลุ่มประเทศอาเซียน ในปี 2554 การค้าระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้มีมูลค่ารวม 3,575 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 2,202.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 1,373 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 828.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ทั้งสองฝ่ายประสงค์ที่จะเพิ่มพูนปริมาณการค้าระหว่างกัน แม้ว่าแอฟริกาใต้จะมีความกังวลในเรื่องความไม่สมดุลย์ทางการค้า เนื่องจากแอฟริกาใต้ขาดดุลการค้ากับไทยเป็นจำนวนมากมาอย่างต่อเนื่อง
5. สวาซิแลนด์  มูลค่าการค้าระหว่างไทย-สวาซิแลนด์ยังมีไม่มาก แต่อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด สำหรับปี 2554 (ค.ศ. 2011) ระหว่างกันมีมูลค่า 35.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกมูลค่า 21.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยนำเข้ามูลค่า 14.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยได้ดุลการค้ามูลค่า 8.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


อ้างอิง
http://www.sacu.int/

 









1 ความคิดเห็น:

  1. ขออนุญาตผู้จัดทำ ขอนำข้อมูลไปประกอบการเรียนการสอนด้วยครับผม ขอบพระคุณครับ

    ตอบลบ