อาเซียนและประชาชมเศรษฐกิจอาเซียน
AEC: ASWAN Economic Community
AEC เป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations : ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่ม 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาในปี 2527 บรูไน ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วย 2538 เวียดนาม ก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา 2540 ลาวและพม่า เข้าร่วม และปี 2542 กัมพูชา ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ทำให้ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ มีประชากร รวมกันเกือบ 500 ล้านคน
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
2.1.1 การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว จะนำไปสู่การใช้กฎระเบียบ
การค้าในประเทศสมาชิกทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน (Harmonization of Rules
and Regulations) ทั้งในด้านมาตรฐาน คุณภาพ ราคา อัตราภาษี รวมถึงกฎ
ระเบียบในการซื้อขาย การขจัดมาตรการและข้อกีดกันต่างๆ รวมถึงการมีมาตรการ
อำนวยความสะดวกทางการค้า เงื่อนไขการเคลื่อนย้ายบุคคลสัญชาติอาเซียน
ประเภทบริการและการลงทุนที่เสรี
2.1.2 การสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการ
แข่งขันสูง(Highly Competitive Economic Region) ในเวทีการค้าโลก
ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม การเงินการธนาคาร
การจัดระบบการค้าให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และการคุ้มครองทรัพย์สิน
ทางปัญญา เป็นต้น
2.1.3 การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิก
อาเซียน โดยพัฒนา SMEs และเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการ
ความร่วมมือต่างๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative
for ASEAN Integration: IAI) ในการลดช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจของ
แต่ละประเทศสมาชิก
2.1.4 การเชื่อมโยงของอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก ด้วยการเน้น
และปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค ให้มี
ท่าทีร่วมกัน โดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ
เพื่อให้เครือข่ายการผลิต/จำหน่ายภายในอาเซียนเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ
เนื่องจากการเปิด AEC ทำให้มีประชากรรวมกันถึง 560 ล้านคน จึงทำให้ประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ใน AEC สนใจที่จะเข้ามาลงทุน
การที่แต่ละประเทศมารวมกลุ่มทำให้มีทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้วัตถุดิบที่ถูกและมีคุณภาพ อีกทั้งยังสามารถเลือกสถานประกอบการที่ได้เปรียบที่สุด
การรวมกลุ่ม AEC ยังสามารถเพิ่มกำลังการต่อรอง คือ เมื่อมีการร่วมกลุ่มกันถึง 10 ประเทศทำให้สามารถเจรจาการต่อรองในเวทีการค้าโลก WTO เพราะเมื่อก่อนที่ยังไม่ได้รวมกลุ่มทำให้แต่ละประเทศไม่มีอำนาจในการต่อลองเวทีการค้าโลกได้
ผลกระทบเชิงบวก
1.
การลดและยกเลิกมาตรการทางภาษีในปี
2553 เป็นร้อยละ 0 ทั้งหมดยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหว
และอ่อนไหวมาก (Sensitive
and Highly Sensitive) ของกลุ่มอาเซียน 6 รวมทั้งประเทศไทย และ 2558
สำหรับกลุ่ม CLMV เป็นการอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่
เป็นการเพิ่มโอกาส
ร้อยละ 22.7
ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย (เพิ่มจากร้อยละ 20 ในปี 2552)
2.
ต้นทุนในการผลิตของไทยต่ำลง
สามารถนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิต
ได้ในราคาที่ถูกลง
3. เป็นการสร้างเสริมโอกาสการลงทุนเมื่อประเทศอาเซียนมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรีมากขึ้น
4.
เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย
เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่นๆ
5. เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก
1. สินค้าของประเทศอาเซียนอื่นเข้าสู่ตลาดไทยได้โดยไม่มีภาระภาษี
ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแข่งขันมากขึ้น
แต่ที่ผ่านมาไทยกลับมีมูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนสูงกว่าการนำเข้าจากอาเซียน
2. ในด้านการลงทุน หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน
(Infrastructure) ประสิทธิภาพ
การผลิตของแรงงาน
(Labor
productivity)
และไม่มีการปรับปรุงกฎระเบียบกฎหมายให้มีความทันสมัยไม่เป็น
อุปสรรคต่อนักการลงทุน
อาจทำให้มีการโยกย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆใน
ASEAN ที่เหมาะสมกว่า
3. การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทน
สูงกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบูรไน
และต้องจ้างแรงงานต่างด้าวจากประเทศแรงงานถูกกว่าเข้ามา อาจก่อปัญหาด้านสังคม
และเนื่องจากทิศทางนโยบายของไทยคือ การเป็น “รัฐสวัสดิการ” ทำให้งบประมาณของรัฐส่วนหนึ่งจะไปเป็นสวัสดิการของแรงงานต่างด้าว
4. ตลาดสินค้าในประเทศ (Domestic Market)
หากตลาดภายในของไทยยังไม่มีกลไกในการป้องกันไม่ให้สินค้าคุณภาพต่ำกว่าที่ผลิตได้ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้ามาขายในประเทศมากขึ้น
ก็จะทำให้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้นอาจเกิดปัญหาอุปสรรคได้
เนื่องจากไม่มีตลาดภายในประเทศรองรับ
รวมทั้งอาจส่งผลทางจิตวิทยาแก่ผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตได้
ขอบคุณ ทุกคนที่สนใจ หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น